Orthodontics

จัดฟันทุกรูปแบบ ดูแลโดยทันตแพทย์จัดฟันเฉพาะทาง


ใครบ้างที่ควรจัดฟัน ?
โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มาปรึกษาทันตแพทย์จัดฟัน มักจะมีปัญหาฟันซ้อนเก ฟันห่าง ฟันยื่น ฟันล่างสบคร่อมฟันบน

การจัดฟันแบบติดแน่นจะมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียงฟันและปรับตำแหน่งฟันให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกับรูปหน้าของผู้ป่วย ทำให้ได้ความสวยงามของฟันและรูปหน้า เพิ่มประสิทธิภาพการการบดเคี้ยว และทำให้ผู้ป่วยสามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้ดีขึ้น

เช็คดูว่าคุณมีลักษณะฟันที่สมควรจัดฟันหรือไม่  คลิก 


                                                                                         


เครื่องมือจัดฟันแบบโลหะชนิดรัดยาง (
Metal braces) เป็นการจัดฟันโดยการติดเครื่องมือจัดฟันแบบโลหะคุณภาพสูง (3M Unitek MBT Braces) ไว้บนผิวฟันด้านหน้า แล้วใส่ลวดผ่านเครื่องมือเหล่านี้ เพื่อทำการเคลื่อนฟันและเรียงฟันให้สวยงาม จะต้องมีการเปลี่ยนยางทุกเดือน เนื่องจากยางหมดอายุการใช้งาน เหมาะสำหรับผู้ป่วยไม่มีปัญหาในการที่คนอื่นสามารถมองเห็นการจัดฟันของตนได้ เป็นที่นิยมสูงสุดและค่าใช้จ่ายน้อยกว่าแบบอื่น ๆ

                                                             การจัดฟันแบบไม่ใช้ยางรัด (Self ligating brackets)

เครื่องมือจัดฟันแบบโลหะไม่ใช้ยางรัดดามอน (Damon Q)
ดามอน (Damon) เป็นเครื่องมือจัดฟันแบบใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อลดแรงเสียดทานของเครื่องมือขณะที่ใช้เคลื่อนฟัน  ทำให้การเคลื่อนฟันมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบกับประสิทธิภาพของลวดชนิด Hi-tech light-force archwires ที่ช่วยให้ฟันเคลื่อนที่ได้เร็ว เพียงใช้แรงเบาๆ

เครื่องมือจัดฟันแบบใสไม่ใช้ยางรัด (Tomy Clippy-C)
Tomy Clippy-C เป็นเครื่องมือติดแน่นแบบใส (Clear Braces) หรือเครื่องมือติดแน่นสีเหมือนฟัน (Tooth-colored Braces) นวัตกรรมใหม่คล้ายอุปกรณ์ดามอน แต่ถูกพัฒนาเพื่อความสวยงามโดยเฉพาะ มีการออกแบบโดยใช้วัสดุเซรามิคแทนโลหะทำให้เครื่องมือมีสีใกล้เคียงกับฟันจึงไม่ค่อยเป็นที่สังเกตมากนัก

                             

บิ๊กเม้าท์เท็น จัดฟันโดยทันตแพทย์จัดฟันเฉพาะทาง นอกจากจะคำนึงถึงการสบฟันที่ถูกต้อง และสุขภาพช่องปากที่ดีหลังจัดฟัน ยังคำนึงถึงรอยยิ้มที่เหมาะสมและสวยงามเข้ากับใบหน้าของผู้ป่วยทุกท่าน คนไข้ทุกท่านจะได้รับการรักษาและดูแลโดยทันตแพทย์เฉพาะทางทุกครั้งที่เข้ามารับบริการ 



  • การจัดฟันมีกี่แบบ ?

    การจัดฟันมี 2 แบบหลักๆ คือจัดฟันแบบติดแน่น และการจัดฟันแบบถอดได้
    1. การจัดฟันแบบติดแน่นคือการจัดฟันที่ติดเครื่องมือจัดฟันบนตัวฟัน และปรับการเรียงตัวของฟันโดยใช้ลวด ยึดกับเครื่องมือจัดฟัน ซึ่งการจัดฟันแบบติดแน่นนี้ จะถอดเครื่องมือได้ก็ต่อเมื่อจัดฟันเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยทันตแพทย์ผู้รักษาจะเป็นผู้ถอดออกให้ ได้แก่ จัดฟันโลหะ หรือจัดฟันทั่วไป จัดฟันเซรามิก จัดฟันดามอน จัดฟันด้านใน

    2. การจัดฟันแบบถอดได้ เป็นเครื่องมือจัดฟันที่คนไข้สามารถถอดเข้า-ออกได้ด้วยตัวเอง เป็นการจัดฟันกำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เพราะง่ายสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน ทำความสะอาดง่าย คนอื่นมองไม่เห็นว่าจัดฟันอยู่ ซึ่งการจัดฟันประเภทนี้ คือการจัดฟันใส invisalign

  • จัดฟันแบบติดแน่น เริ่มเมื่อไหร่ดี ?

    การจัดฟันแบบติดแน่นสามารถทำได้ตั้งแต่เด็กถึงผู้ใหญ่ ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือช่วงอายุประมาณ 12-14 ปี และมีฟันแท้ขึ้นครบ (ไม่นับรวมฟันกรามแท้ซี่ที่ 3) ในช่วงอายุดังกล่าวฟันสามารถเคลื่อนที่ได้ง่าย และเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต มีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างใบหน้ามากที่สุด การจัดฟันในช่วงนี้จึงสามารถปรับแก้ไขโครงสร้างใบหน้าที่ผิดปกติได้ด้วย

  • การจัดฟันในผู้ใหญ่....อายุมากแล้วจัดฟันได้ไหม ?

     ในปัจจุบัน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการจัดฟันได้มีการออกแบบให้ดูไม่ดูเทอะทะและมีการนำวัสดุสีเหมือนฟันมาใช้ ทำให้มองเห็นเครื่องมือได้ไม่ชัดเจนเหมือนการจัดฟันในอดีต ทุกวันนี้การจัดฟันในผู้ใหญ่จึงเป็นที่นิยมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแก้ฟันซ้อนเกที่บิดหมุนเพื่อให้แปรงสีฟันเข้าไปทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น การปิดช่องว่างระหว่างฟันหน้า การจัดฟันก่อนใส่ฟันปลอม และ/หรือ รากฟันเทียม ตลอดจนการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรเพื่อแก้ไขรูปหน้า

    อย่างไรก็ตาม ผู้ใหญ่มักจะมีโรคปริทันต์อักเสบร่วมด้วย ดังนั้นก่อนเริ่มจัดฟันจะต้องรักษาสภาวะปริทันต์อักเสบโดยการขูดหินปูนและเกลารากฟันให้เรียบร้อยก่อน เมื่อมีอวัยวะปริทันต์ที่สมบูรณ์แข็งแรงแล้ว ก็สามารถจัดฟันได้ตามปกติ

     

     

     

     

     

     

  • อยากจัดฟัน แต่กลัวการถอนฟัน หมอต้องถอนฟันเพื่อจัดฟันทุกเคสไหม ?

    ไม่ใช่ทุกคนที่จะต้องถอนฟันเพื่อจัดฟันเสมอไป ขึ้นอยู่กับปัญหาที่ทำให้มาพบทันตแพทย์จัดฟัน รวมถึงลักษณะฟันและรูปหน้าของผู้ป่วย ซึ่งจะพิจารณาได้จากภาพถ่ายรังสีประกอบการพิจารณา

    เคสที่มักจะต้องถอนฟันร่วมด้วย จะมีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ การมีฟันยื่นและการมีฟันซ้อนเกมาก การถอนฟันจะทำให้มีช่องว่างเพื่อที่จะเรียงฟันที่ซ้อนเก และ/หรือ ดึงฟันเข้าเพื่อลดความยื่นของฟันได้ โดยช่องที่เกิดจากการถอนฟันเพื่อจัดฟันจะถูกปิดโดยไม่ต้องใส่ฟันปลอม ฟันที่มักถูกถอนเพื่อใช้ในการจัดฟันมักเป็นฟันกรามน้อยที่อยู่หลังฟันเขี้ยว อาจจะเป็นฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่ง หรือ ฟันกรามน้อยซี่ที่สอง ขึ้นกับดุลยพินิจของทันตแพทย์จัดฟัน หรือในบางกรณีที่ผู้ป่วยมีฟันซี่อื่น ๆ ที่พิจารณาแล้วว่าอาจมีปัญหาในอนาคต เช่น มีวัสดุอุดฟันขนาดใหญ่ ฟันที่มีรูปร่างผิดปกติ ทันตแพทย์จัดฟันอาจจะพิจารณาถอนฟันเหล่านั้นแทนได้เช่นกัน

    ในผู้ป่วยบางรายที่มีฟันคุดของฟันกรามซี่ที่สาม ก็จะเป็นฟันที่ทันตแพทย์จัดฟันมักจะแนะนำให้เอาออก บางรายอาจจะแนะนำให้เอาออกก่อนติดเครื่องมือจัดฟัน เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาระหว่างจัดฟัน เนื่องจากฟันคุดที่โผล่พ้นเหงือกขึ้นมาแบบเอียง ๆ มักก่อให้เกิดเหงือกอับเสบ มีเศษอาหารติดบริเวณดังกล่าว มีอาการปวดเป็น ๆ หาย ๆ  บางรายอาจทำให้เกิดฟันผุบริเวณซอกฟัน แต่ในผู้ป่วยบางรายทันตแพทย์จัดฟันอาจจะพิจารณาเอาออกระหว่างจัดฟันหรือภายหลังจัดฟันก็ได้ ทั้งนี่ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย ตำแหน่งและการเอียงตัวของฟันคุดซี่นั้น ๆ

     

  • ทำไมผู้ใหญ่จัดฟันนานกว่าเด็ก ?

     ปัจจุบันผู้ป่วยในวัยผู้ใหญ่เข้ารับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยทั่วไปการเคลื่อนฟันในผู้ใหญ่จะมีการตอบสนองของอวัยวะปริทันต์และกระดูกที่อยู่รอบรากฟันเหมือนผู้ป่วยในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น แต่สาเหตุที่ผู้ใหญ่ใช้ระยะเวลาจัดฟันนานกว่าเด็กนั้น เนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

     อายุ

    การจัดฟันในผู้ใหญ่มักจะมีเงื่อนไขบางอย่างซึ่งต่างจากการจัดฟันในเด็ก เช่น การมีโรคปริทันต์อักเสบ การสูญเสียระดับกระดูกที่อยู่ล้อมรอบฟันที่จะเคลื่อน จึงต้องมีการรักษาปัญหาเหล่านี้ก่อนจัดฟัน และที่สำคัญเมื่ออายุมากขึ้นกระดูกจะมีความแข็งมากขึ้นไปด้วย ดังนั้นการเคลื่อนฟันในผู้ใหญ่ที่มีกระดูกที่แข็งกว่า จึงมักจะใช้เวลาที่นานกว่าเด็ก และอาจพบการโยกของฟันที่กำลังเคลื่อนได้มากกว่าในเด็กเนื่องจากกระบวนการสร้างและสลายกระดูกที่อยู่ล้อมรอบรากฟันในผู้ใหญ่เกิดได้ช้ากว่าเด็ก

     การสบฟัน

    การแก้ไขการสบฟันผิดปกติที่มีมาตั้งแต่วัยเด็กแต่ไม่ได้รับการแก้ไข อาจทำให้ความผิดปกตินั้นทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ในผู้ใหญ่มักจะพบปัญหาฟันหน้าสบลึกร่วมด้วย โดยมักจะเกิดจากการสึกของฟันตามอายุ กรณีเช่นนี้จะยิ่งเพิ่มความซับซ้อนและระยะเวลาในการจัดฟันมากขึ้น และส่วนใหญ่แล้วการจัดฟันในผู้ใหญ่จะเน้นการแก้ปัญหาเพื่อให้มีการบดเคี้ยวที่ดีขึ้นมากกว่าเรื่องความสวยงาม

     การถอนฟัน

    ในผู้ใหญ่มักจะมาด้วยการสูญเสียฟันบางซี่ไปแล้ว การจัดฟันก็จะมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นตามไปด้วย ตำแหน่งที่สูญเสียฟันไปนาน ๆ บางบริเวณก็ไม่สามารถที่จะเคลื่อนฟันข้างเคียงเข้ามาปิดช่องว่างได้ ดังนั้นการจัดฟันในผู้ป่วยบางรายจะเป็นการจัดฟันเพื่อตั้งฟันที่ล้มเข้าหาช่องว่างเพื่อทำการใส่ฟันภายหลังการจัดฟันเสร็จสิ้น

  • จัดฟันแล้วมีอาการปวดฟัน ผิดปกติไหม

    อาการปวดฟันหลังจากปรับเครื่องมือจัดฟันใหม่ ๆ สามารถพบได้ปกติในช่วง 1-3 วันแรก และจะทุเลาลงได้เองภายใน 7 วัน ผู้ป่วยสามารถรับประทานทานยาแก้ปวด เช่น paracetamol เพื่อบรรเทาอาการปวดได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาแก้ปวดในกลุ่ม NSIADs เช่น Ibuprofen เนื่องจากจะมีผลทำให้การเคลื่อนฟันช้าลงได้หากรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง หากผู้ป่วยมีความจำเป็นที่จะต้องรับประทานยากลุ่มนี้ ให้ปรึกษาทันตแพทย์จัดฟันด้วย

  • จัดฟันกับทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันคือใคร สำคัญแค่ไหน ?

    ทัตนแพทย์จัดฟันเฉพาะทาง คือใคร?

    ทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟัน คือทัตนแพทย์ที่เรียนจบปริญญาตรีทันตแพทย์ทั่วไปที่ใช้เวลาเรียน 6 ปี จากนั้นเรียนต่อในมหาวิทยาลัยหลักสูตรทันตแพทย์จัดฟันแบบเต็มเวลาอีก 2-4 ปี ซึ่งสามารถเรียนได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เมื่อเรียนจบต้องเข้าไปสอบเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขาจัดฟันที่ทันตแพทยสภา เมื่อสอบผ่านแล้วจะได้วุฒิบัตรและได้ขึ้นทะเบียนเป็น ทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟัน

    แล้วแตกต่างกันหรือไม่

    หลายคนอาจจะเริ่มสับสนว่าสรุปแล้ว ทันตแพทย์จัดฟัน กับ ทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟัน แตกต่างกันอย่างไร หรือว่าก็คือคนเดียวกัน แต่บอกเลยว่าความจริงแล้วมีความแตกต่างกันมาก เพราะทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันคือผู้ที่สอบผ่านขั้นสูงสุดของการจัดฟัน มีใบประกาศรับรองจากแพทยสภาแห่งประเทศไทย สามารถเช็ครายชื่อได้อย่างง่ายดาย และคนที่เป็นทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันจะผ่านการเรียนทันตแพทย์จัดฟันมาแล้ว

    แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องจัดฟันกับทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันอย่างเดียวเท่านั้น เพราะทันตแพทย์ทั่วไปและทันตแพทย์จัดฟันที่เรียนจบมาจะมีใบประกอบวิชาชีพซึ่งก็สามารถจัดฟันหรือรักษาโรคอื่นๆ ในช่องปากได้เช่นกัน และโดยส่วนใหญ่แล้ว ทันตแพทย์ทั่วไปที่อยากให้บริการจัดฟันด้วยจะเข้าอบรมหาความรู้เพิ่มเติมจากหลักสูตรระยะสั้นต่างๆ มีการเปิดสอนคอร์สต่างๆ อยู่ตลอด แม้จะไม่ได้จบสาขาเฉพาะทางจัดฟันโดยตรงก็สามารถทำการจัดฟันให้คนไข้ได้เช่นกัน

    แล้วทำไมต้องจัดฟันกับทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟัน

    พูดเลยว่าการจะเป็นทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจริงๆ ต้องผ่านการเรียนหลายปีและยังต้องสอบให้ผ่านเพื่อให้ได้ใบรับรอบสาขาเฉพาะทางจัดฟัน และเรียกได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจัดฟันอย่างแท้จริงๆ สามารถแก้ปัญหาโครงสร้างฟันที่ผิดปกติมากๆ ได้ แก้ปัญหาความผิดปกติได้ทุกรูปแบบ

     

 

Invisalign
“อินวิซาไลน์” เป็นเครื่องมือจัดฟันที่ทำมาจากพลาสติกที่ผิวสัมผัสเรียบ พิเศษกว่าการจัดฟันแบบใส่เหล็กตรงที่ใสจนแทบมองไม่เห็น สบายกว่าไม่ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในปาก สามารถถอดออกได้ง่ายเวลารับประทานอาหารหรือแปรงฟัน ซึ่งจะถูกออกแบบมาเฉพาะบุคคล โดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาโดยบริษัท Align Technology ในการผลิตชุดของเครื่องมือจัดฟัน โดยแต่ละชุดจะค่อย ๆ จัดเรียงฟันของคุณให้เคลื่อนไปยังตำแหน่งที่ทันตแพทย์จัดฟันได้กำหนดไว้ในแผนการรักษาอย่างเป็นธรรมชาติ

                              

ระบบ Invisalign สามารถเคลื่อนฟันได้อย่างแม่นยำ

SmartTrack เป็นวัสดุที่ใช้ในการผลิตชิ้นงานซึ่งเป็นพลาสติกชนิดพิเศษที่มีคุณภาพสูง เหนียวแต่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถสร้างแรงกระทำที่นุ่มนวลและสม่ำเสมอจึงควบคุมการเคลื่อนตัวของฟันได้ดีกว่า 

SmartForce เป็นคุณสมบัติที่ออกแบบมาเพื่อสร้างแรงกระทำที่สามารถเคลื่อนฟันได้อย่างแม่นยำ โดยจะมาในรูปแบบของปุ่มที่ติดบนตัวฟันที่เรียกว่า Attachment

SmartStage เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ปรับปรุงกระบวนการเคลื่อนตัวของฟันให้แม่นยำ โดยใช้ clincheck กำหนดแผนการรักษาทำให้เห็นการเคลื่อนตัวของฟันตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งรักษาเสร็จ

 

                

 
  • Invisalign ดีกว่าอย่างไร ?

    • Invisible : สามารถจัดฟันโดยที่ไม่มีใครรู้ว่ากำลังใส่เครื่องมือจัดฟันอยู่
    • Comfortable: ไม่ต้องติดเหล็กจัดฟันและลวด สาเหตุของการระคายเคืองในช่องปากอีกทั้งลดระยะเวลาในการปรับตำแหน่งเครื่องมืออีกด้วย
    • Removable: ถอดง่าย ใส่สบาย เวลารับประทานอาหาร แปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟันได้อย่างสะดวก
    • สามารถดูแผนการรักษาด้วย Virtual 3D ทำให้เห็นภาพการเคลื่อนของฟันอย่างเป็นลำดับต่อเนื่อง เข้าใจง่าย
  • อายุมากจัดฟันแบบ Invisalign ได้หรือเปล่า ?

    สามารถทำได้โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องอายุ

การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร
ในผู้ป่วยบางราย การจัดฟันเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขความผิดปกติได้ทั้งหมด การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพื่อแก้ไขปัญหาตำแหน่งหรือขนาดของขากรรไกรบนและล่างไม่สัมพันธ์กัน ทำให้เกิดปัญหาการบดเคี้ยว การออกเสียง และในบางรายยังส่งผลต่อรูปหน้าอีกด้วย

กรณีใดบ้างที่จำเป็นต้องผ่าตัดขากรรไกรทั้งบนและล่างพร้อมกัน
การวางแผนการรักษาว่าจะผ่าตัดกี่ขากรรไกรนั้น เป็นการทำงานร่วมกันเป็นทีมของทันตแพทย์จัดฟันและทันตแพทย์สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ซึ่งจะต้องวางแผนการรักษาร่วมกันก่อนเริ่มการรักษา ผู้ป่วยบางรายอาจจะได้แผนการรักษาที่ขากรรไกรใดขากรรไกรหนึ่งที่ผิดปกติ แต่ในบางรายจำเป็นต้องผ่าตัดทั้งขากรรไกรบนและล่าง ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยมีความผิดปกติของตำแหน่งและขนาดของขากรรไกรทั้งบนและล่าง ผู้ป่วยที่มีใบหน้าเบี้ยว ผู้ป่วยที่มีแนวการสบฟันเอียง ผู้ป่วยที่ผ่าตัดขากรรไกรเพื่อแก้ไขภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เป็นต้น


Orthognathic Surgery (One-jaw Surgery) (ภาพ : zeahdental.net)


Orthognathic Surgery (Two-jaw Surgery) (ภาพ : zeahdental.net)

ขั้นตอนในการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรมีอะไรบ้าง

ผู้ป่วยที่มีปัญหาการสบฟันผิดปกติ และสงสัยว่าตนเองนั้นจำเป็นต้องจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรหรือไม่ สามารถนัดปรึกษากับทันตแพทย์จัดฟันเฉพาะทางเพื่อขอทราบข้อมูลและแนวทางการรักษาเบื้องต้นได้

การรักษาจะเริ่มจากตรวจทางคลินิกในช่องปาก การตรวจใบหน้า การพิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลองฟัน และเอกซเรย์เหมือนการจัดฟันทั่วไปแบบไม่ผ่าตัด ซึ่งในส่วนเอกซเรย์นั้นทันตแพทย์จัดฟันอาจจะมีการส่งถ่ายภาพรังสีเพิ่มเติม เช่นภาพรังสีสามมิติ CBCT เมื่อมีข้อบ่งชี้

จากนั้นทันตแพทย์จัดฟันจะนำข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดมาวิเคราะห์ว่าเคสที่มีปัญหาความผิดปกติของขากรรไกรนั้น สามารถมีแผนการรักษาอะไรได้บ้าง ในบางรายสามารถจัดฟันอย่างเดียว บางรายอาจจะต้องมีการผ่าตัดขากรรไกรร่วมด้วย แต่ในบางรายที่แผนการรักษาไปได้ทั้งสองทาง ทันตแพทย์จัดฟันจะทำการอธิบายข้อดีข้อเสียต่าง ๆ แล้วให้ผู้ป่วยเป็นผู้เลือกแผนการรักษาสุดท้ายเมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว

เมื่อแผนการรักษาเป็นการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร ทันตแพทย์จัดฟันจะทำการส่งต่อผู้ป่วยไปพบทันตแพทย์สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล เพื่อทำการตรวจทางคลินิกอีกครั้งหนึ่ง รวมถึงประเมินแผนการรักษาสำหรับการผ่าตัดขากรรไกร ในการนัดครั้งนี้ ผู้ป่วยจะทราบข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายสำหรับการผ่าตัดว่าเคสตนเองต้องผ่าตัดกี่ขากรรไกร ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดมีอะไรบ้าง ตลอดจนซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินในการเลือกแผนการรักษา

 โดยทั่วไป การรักษาด้วยการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้

  1. การจัดฟันก่อนการผ่าตัด (Pre-surgical Orthodontics)
    ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน – 2 ปีเพื่อแก้ไขการเรียงตัวของฟัน ซึ่งอาจจะมีการถอนฟันร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับแผนการรักษาในผู้ป่วยแต่ละราย ก่อนการผ่าตัด ทันตแพทย์จัดฟันจะประเมินว่าฟันบนและฟันล่างสัมพันธ์กันหรือไม่ โดยการพิมพ์ปากทำแบบจำลองฟัน เพื่อตรวจสอบการกัดสบโดยละเอียดนอกช่องปาก ในผู้ป่วยบางรายสามารถข้ามขั้นตอนการจัดฟันก่อนการผ่าตัดได้ เรียกว่า Surgery first orthognathic approach ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแผนการรักษาและประสบการณ์ของทันตแพทย์ผู้ให้การรักษานั้น ๆ
  2. การผ่าตัดขากรรไกร (Corrective Jaw Surgery)
    เมื่อพร้อมที่จะทำการผ่าตัด ทันตแพทย์จะพิมพ์ปาก ถ่ายภาพใบหน้าสามมิติ และส่งถ่ายภาพรังสีสามมิติ CBCT เพื่อทำแผนการผ่าตัดขากรรไกรแบบดิจิตอล และเฝือกสบฟันสำหรับใช้ในห้องผ่าตัด การผ่าตัดขากรรไกรนั้น อาจจะผ่าขากรรไกรเดียว (1 jaw) หรือ สองขากรรไกร (2 jaw) ก็ได้ขึ้นกับลักษณะความผิดปกติของขากรรไกรในผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้มีใบหน้าที่สวยงาม และการสบฟันที่ดีขึ้นหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนและหลังการผ่าตัดจากทันตแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด การผ่าตัดจะทำในโรงพยาบาล และผู้ป่วยมักจะต้องพักฟื้น 2-5 วันในโรงพยาบาล และพักต่อที่บ้านอีกประมาณ 2-4 สัปดาห์แล้ว

การจัดฟันหลังการผ่าตัด (Post-surgical Orthodontics)
เป็นการจัดฟันเพื่อเก็บรายละเอียดให้การสบฟันสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยมากจะใช้หนังยางดึงฟันร่วมด้วย และมักจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน – 1 ปี

การนัด follow up หลังออกจากโรงพยาบาล

ทันตแพทย์จะนัดผู้ป่วยเพื่อติดตามผลการรักษาภายหลังการผ่าตัดขากรรไกรเป็นระยะ ๆ โดยจะทำการตรวจใบหน้า การตรวจภายในช่องปาก การตัดไหมเย็บแผล และการตรวจผ่านทางภาพรังสีสามมิติ CBCT

การนัด follow up จะถี่ในช่วงแรกจนเหลือปีละ 1 ครั้ง โดยทั่วไปจะนัดหลังการผ่าตัด 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์ 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี และนัดหลังจากนั้นปีละครั้งจนครบ 5 ปี

การตัดไหม โดยทั่วไปจะตัดไหมในช่วง 2-6 สัปดาห์หลังการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับระยะอ้าปากของผู้ป่วย

การส่งถ่ายภาพรังสีสามมิติ CBCT จะทำหลังผ่าตัด 1 วัน 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี ปี และนัดหลังจากนั้นปีละครั้งจนครบ 5 ปี

การผ่าตัดเอาแผ่นดามกระดูกและสกรูออก ในผู้ป่วยที่ต้องการผ่าตัดเอาแผ่นดามกระดูกและสกรูออก จะทำในช่วง 1 ปี หลังผ่าตัดขากรรไกร หากมีแผ่นดามกระดูกและสกรูในขากรรไกรล่าง สามารถเอาออกภายใต้การฉีดยาชาเฉพาะที่ แต่หากมีแผ่นดามกระดูกและสกรูในขากรรไกรบน มักจะแนะนำให้ผ่าตัดเอาออกภายใต้การดมยาสลบ

  • ผู้ป่วยกลุ่มใดที่ต้องรับการรักษาด้วยการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร

    โดยปกติฟันจะตั้งอยู่บนขากรรไกร หากผู้ป่วยที่มีตำแหน่งของขากรรไกรบนและ/หรือล่างที่ผิดปกติไปก็จะส่งผลต่อการสบฟัน ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ปัญหาการกัดสบ ปัญหาการบดเคี้ยว ในบางรายอาจพบการออกเสียงไม่ชัด มีปัญหาเรื่องรูปหน้าผิดปกติ เช่น มีขากรรไกรล่างยื่น การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร ทันตแพทย์จัดฟันจะทำงานร่วมกับทันตแพทย์สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ในการแก้ไขปัญหาของขากรรไกรและฟันให้กลับมาทำหน้าที่ได้ปกติ

  • ช่วงอายุที่สามารถเข้ารับการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร

    เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่วัยที่หมดการเจริญเติบโตแล้ว ได้แก่ ผู้ปวยในช่วงอายุ 18-20 ปีขึ้นไป การแก้ไขปัญหาของขนาดและรูปร่างของขากรรไกรที่ผิดปกติไป จะทำได้ด้วยการผ่าตัดขากรรไกรเท่านั้น

  • ความผิดปกติของขากรรไกรเกิดจากสาเหตุใด

    สาเหตุที่มักพบได้บ่อย ได้แก่ ความผิดปกติของพันธุกรรม เมื่อผู้ป่วยเจริญเติบโตมากขึ้น จะพบว่าขากรรไกรบนและล่างจะเจริญแบบไม่สัมพันธ์กันมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ฟันหน้าไม่สบกัน มีปัญหาการบดเคี้ยว หรือ มีปัญหาในการออกเสียง สาเหตุอื่น ๆ ที่อาจพบ ได้แก่ ความผิดปกติแต่กำเนิด การได้รับอุบัติเหตุบริเวณขากรรไกรและใบหน้า เป็นต้น

  • ผ่าตัดขากรรไกรโดยไม่จัดฟันได้หรือไม่

    เนื่องจากฟันตั้งอยู่บนขากรรไกร หากมีการเปลี่ยนตำแหน่งไปของขากรรไกรจากการผ่าตัด ก็จะทำให้การสบฟันเปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังนั้นในเคสส่วนใหญ่การรักษาสองอย่างนี้จึงไม่สามารถแยกจากกันได้ การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรจะเป็นการรักษาที่ดูแล 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนของฟัน และส่วนของขากรรไกร ซึ่งจะเป็นการทำงานร่วมกันเป็นทีมของทันตแพทย์ 2 สาขา ได้แก่ ทันตแพทย์จัดฟันและทันตแพทย์สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล หลังจากผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของขากรรไกรแล้ว ทันตแพทย์จัดฟันมีหน้าที่ในการจัดฟันเพื่อให้ได้การสบฟันที่ดีต่อไป

  • การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรจะทำได้เมื่อใด

    การผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาของขากรรไกรที่ผิดปกติมักเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ อาจจะน้อยเกินไปหรือมากเกินไป การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรจะทำเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ช่วงที่การเจริญเติบโตสิ้นสุดแล้ว

  • บางคนผ่าตัดขากรรไกรเดียว กรณีใดบ้างที่จำเป็นต้องผ่าตัดขากรรไกรทั้งบนและล่างพร้อมกัน

    การวางแผนการรักษาว่าจะผ่าตัดกี่ขากรรไกรนั้น เป็นการทำงานร่วมกันเป็นทีมของทันตแพทย์จัดฟันและทันตแพทย์สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ซึ่งจะต้องวางแผนการรักษาร่วมกันก่อนเริ่มการรักษา ผู้ป่วยบางรายอาจจะได้แผนการรักษาที่ขากรรไกรใดขากรรไกรหนึ่งที่ผิดปกติ แต่ในบางรายจำเป็นต้องผ่าตัดทั้งขากรรไกรบนและล่าง ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยมีความผิดปกติของตำแหน่งและขนาดของขากรรไกรทั้งบนและล่าง ผู้ป่วยที่มีใบหน้าเบี้ยว ผู้ป่วยที่มีแนวการสบฟันเอียง ผู้ป่วยที่ผ่าตัดขากรรไกรเพื่อแก้ไขภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เป็นต้น

  • การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดแบบ Surgery first approach คืออะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

    การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรด้วยวิธีแบบดั้งเดิมนั้น จะมี 3 ขั้นตอนหลัก ๆ คือ จัดฟัน --> ผ่าตัด --> จัดฟัน ในปัจจุบันการทำ surgery first approach ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัดก่อนการจัดฟันเพื่อเป็นการแก้ไขที่โครงสร้างของขากรรไกรที่ผิดปกติทันที

              ข้อดีของ surgery first approach คือ สามารถแก้ไขความผิดปกติของโครงสร้างใบหน้าและขากรรไกรได้ตั้งแต่ช่วงแรกของการรักษา ไม่มีระยะที่รูปหน้าและการสบฟันของผู้ป่วยแย่ลงจากการจัดฟันก่อนการผ่าตัด การจัดฟันในช่วง 3-4 เดือนแรกหลังการผ่าตัดจะเคลื่อนได้ไวกว่าปกติจาก regional acceleratory phenomenon ทำให้ร่นระยะเวลาที่ใช้สำหรับการจัดฟันได้ และหากมีการคืนตัวกลับของกระดูกขากรรไกรจากการผ่าตัด สามารถแก้ไขในระหว่างการจัดฟันได้ อย่างไรก็ตามการพิจารณาว่าผู้ป่วยสามารถทำแบบ surgery first approach ได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับลักษณะการสบฟันของผู้ป่วยที่มีอยู่ และความชำนาญของทันตแพทย์ที่จะทำการรักษา

^