
Children’s Dental Treatments
ทันตกรรมสำหรับเด็ก
ที่ Bigmouthten เราเชื่อว่า
“การดูแลฟันเด็ก คือการใส่ใจตั้งแต่ต้นทาง”
ให้ลูกน้อยเติบโตพร้อมรอยยิ้มที่แข็งแรงและมั่นใจค่ะ
หากคุณกำลังมองหาคลินิกที่ดูแลฟันเด็กโดยเฉพาะ ที่ Bigmouthten เรามี ทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็ก พร้อมห้องทำฟันที่ออกแบบให้เป็นมิตรกับเด็ก บรรยากาศอบอุ่น และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้เด็ก ๆ รู้สึกสบายใจระหว่างการรักษา
ทำฟันเด็กคืออะไร?
การทำฟันเด็ก ไม่ใช่แค่เรื่องของฟัน แต่คือการเริ่มต้นดูแลรอยยิ้มของลูกให้แข็งแรงตั้งแต่เล็ก ๆ
ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านทันตกรรมสำหรับเด็ก จะช่วยดูแลทั้งการป้องกันฟันผุ ติดตามการขึ้นของฟัน และแนะนำพฤติกรรมการดูแลฟันที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กแต่ละคน
เพื่อให้เด็ก ๆ เติบโตพร้อมสุขภาพช่องปากที่ดี และไม่กลัวหมอฟันอีกต่อไป

ดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของน้อง ๆ ครบวงจร
☺
Bigmouthten Dental
☺
ดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของน้อง ๆ ครบวงจร ☺ Bigmouthten Dental ☺
-
เพื่อตรวจหาฟันผุ เหงือกอักเสบ และติดตามพัฒนาการของฟันน้ำนมและฟันแท้
ควรตรวจทุก 3–6 เดือน เพื่อป้องกันปัญหาแต่เนิ่น ๆ
-
คุณหมอจะสอนวิธีแปรงฟันอย่างถูกต้อง แนะนำแปรงสีฟันและยาสีฟันที่เหมาะกับวัยของลูกน้อยรวมถึงพฤติกรรมที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อฟันผุ
-
ฟลูออไรด์ช่วยให้ฟันแข็งแรงขึ้น และลดโอกาสการเกิดฟันผุ
-
โดยเฉพาะฟันกรามที่มีร่องลึก เสี่ยงต่อฟันผุง่าย การเคลือบหลุมร่องฟันจะช่วยป้องกันไม่ให้เศษอาหารตกค้าง และทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น
-
หากฟันผุในระยะเริ่มต้น คุณหมอจะอุดเพื่อหยุดการลุกลาม
-
ในกรณีที่ฟันผุลึกจนถึงโพรงประสาท แต่ยังสามารถเก็บฟันซี่นั้นไว้ได้
การรักษานี้ช่วยให้ฟันน้ำนมอยู่ในปากจนถึงเวลาที่เหมาะสม
-
หากฟันน้ำนมผุมากหรือฟันแตกจากอุบัติเหตุ
คุณหมอจะใส่ครอบฟันเพื่อทดแทนเนื้อฟันที่เหลือน้อยให้แข็งแรงและให้เด็กบดเคี้ยวได้ตามปกติ
-
เมื่อฟันน้ำนมโยกมากหรือมีการติดเชื้อที่ไม่สามารถรักษาได้
คุณหมอจะพิจารณาถอนด้วยความระมัดระวัง พร้อมให้คำแนะนำในการดูแลหลังถอน
-
หากต้องถอนฟันน้ำนมก่อนเวลา อาจทำให้ฟันข้างเคียงล้มเข้ามา
คุณหมอจะใส่อุปกรณ์ป้องกัน เพื่อให้ฟันแท้มีที่ขึ้นอย่างเหมาะสม
-
สำหรับเด็กที่มีปัญหาฟันสบผิดปกติ เช่น ฟันคร่อม ฟันยื่น ขากรรไกรแคบ
สามารถเริ่มวางแผนจัดฟันเบื้องต้นได้ตั้งแต่อายุ 7–12 ปี
ที่จริงแล้ว การทำฟันเด็ก ไม่ใช่แค่เรื่องการรักษาเวลาเจ็บฟันเท่านั้น
แต่เป็นการดูแลสุขภาพช่องปากของลูกน้อยให้แข็งแรงตั้งแต่เริ่มต้นโดยทันตแพทย์เฉพาะทางจะดูแลอย่างอ่อนโยน และเข้าใจความรู้สึกของเด็กแต่ละคน
ขูดหินปูนในเด็ก จำเป็นหรือไม่
การขูดหินปูนในเด็กเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยเฉพาะในเด็กที่เริ่มมีฟันแท้ขึ้น หรือมีคราบพลัค (plaque) และหินปูนสะสม
แม้ในวัยเด็กคราบหินปูนอาจยังไม่มากเท่าผู้ใหญ่ แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำความสะอาด อาจนำไปสู่ปัญหาเหงือกอักเสบ กลิ่นปาก หรือฟันผุได้
ทันตแพทย์จะประเมินความเหมาะสมตามช่วงวัย และให้การดูแลอย่างอ่อนโยน เพื่อสร้างความคุ้นเคยและปลูกฝังพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีในระยะยาว
GBT Airflow® ในเด็ก ดีหรือไม่
การทำความสะอาดฟันด้วยเทคโนโลยี GBT (Guided Biofilm Therapy) โดยใช้ Airflow® เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและเหมาะสมสำหรับเด็ก
โดยเฉพาะในเด็กที่กลัวเครื่องมือขูดหินปูนแบบดั้งเดิม เนื่องจากวิธีนี้อ่อนโยน ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บหรือเสียวฟัน
Airflow® ใช้ผงละเอียดผสมกับน้ำและลมแรงดันต่ำ ช่วยขจัดคราบพลัคและคราบสีบนฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อีกจุดเด่นสำคัญคือการใช้ สีย้อมคราบฟัน (disclosing agent) ก่อนเริ่มทำความสะอาด เพื่อแสดงให้เห็นชัดเจนว่าบริเวณใดที่แปรงไม่สะอาด เด็กจะเรียนรู้ได้ทันทีว่าจุดไหนควรดูแลให้ดีขึ้น
New Experience of Dental Cleaning at GBT Certified Dental Clinic
⊕
Bigmouthten Dental
⊕
New Experience of Dental Cleaning at GBT Certified Dental Clinic ⊕ Bigmouthten Dental ⊕
เคลือบหลุมร่องฟัน คืออะไร และจำเป็นหรือไม่
การเคลือบหลุมร่องฟัน (Sealant) เป็นวิธีการป้องกันฟันผุโดยการทาน้ำยาเคลือบบาง ๆ บนพื้นผิวของฟันกรามบริเวณที่มีร่องลึก
จุดเหล่านี้มักทำความสะอาดได้ยาก และเป็นแหล่งสะสมของเศษอาหารและแบคทีเรีย ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุได้ง่าย
โดยทั่วไปจะนิยมทำในฟันกรามแท้ที่เพิ่งขึ้นใหม่ เนื่องจากเนื้อฟันยังไม่แข็งแรงเต็มที่
อย่างไรก็ตาม ในเด็กบางรายที่มีร่องฟันน้ำนมลึกมาก หรือมีความเสี่ยงต่อฟันผุสูง ทันตแพทย์อาจพิจารณาเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามน้ำนมได้เช่นกัน เพื่อป้องกันปัญหาฟันผุตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
การเคลือบหลุมร่องฟันจึงถือเป็นหนึ่งในแนวทางการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ และช่วยเสริมสร้างสุขภาพช่องปากของเด็กให้แข็งแรงในระยะยาว
การเคลือบฟลูออไรด์ในเด็ก
การเคลือบฟลูออไรด์ (Topical Fluoride Application) เป็นวิธีเสริมความแข็งแรงให้ผิวฟัน และช่วยลดความเสี่ยงต่อฟันผุ โดยเฉพาะในเด็กที่แปรงฟันได้ไม่ทั่วถึงหรือมีความเสี่ยงฟันผุสูง
สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น และควรทำซ้ำทุก 3–6 เดือน หรือตามคำแนะนำของทันตแพทย์
การเคลือบฟลูออไรด์ในคลินิกมีความปลอดภัยสูง ใช้ปริมาณที่เหมาะสมกับวัย และทำเฉพาะบนผิวฟัน ไม่ก่อผลข้างเคียงเมื่อติดตามอย่างเหมาะสม
ฟันลักษณะใดที่ถึงขั้นต้องรักษารากฟันในเด็ก
การรักษารากฟันในเด็ก (Pulpectomy) มักทำในฟันที่มีลักษณะดังนี้:
ฟันน้ำนมหรือฟันแท้ที่มีฟันผุลึกจนทะลุถึงโพรงประสาท และเกิดการติดเชื้อหรือตายของเนื้อเยื่อภายใน
ฟันที่มีอาการปวดเรื้อรัง หรือ ตอบสนองผิดปกติต่อการกระตุ้น เช่น ปวดจากการกินของร้อนหรือเย็น หรือปวดตุบ ๆ ติดต่อกัน
ฟันที่มีการติดเชื้อรุนแรง หรือมีตุ่มหนอง (fistula) บริเวณเหงือก
ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ จนโพรงประสาทเปิดออกและเนื้อเยื่อภายในไม่สามารถฟื้นตัวได้
ฟันที่มีการละลายของคลองรากฟันจากภายใน (internal resorption) อันมีสาเหตุมาจากการอักเสบภายในโพรงประสาท
ฟันที่ล้มเหลวจากการทำ Vital Pulp Therapy เช่น มีอาการปวด หรือเกิดการติดเชื้อภายหลังการรักษา
FAQs
คำถามที่พบบ่อย
-
การครอบฟันในเด็ก (Stainless Steel Crown) เป็นการรักษาที่มักใช้ในกรณีที่ฟันน้ำนมผุมาก หรือมีการแตกหักจากอุบัติเหตุ
โดยเฉพาะในกรณีที่ฟันได้รับการรักษาโพรงประสาทหรือคลองรากฟันแล้ว
การครอบฟันจะช่วยป้องกันการผุซ้ำ เสริมความแข็งแรง และยืดอายุการใช้งานของฟันน้ำนมให้อยู่ในช่องปากจนครบช่วงเวลาที่เหมาะสม
แม้ฟันน้ำนมจะหลุดในอนาคต แต่การเก็บรักษาฟันให้อยู่ในสภาพดี มีความสำคัญต่อการบดเคี้ยว การพูด และการขึ้นของฟันแท้ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
-
การถ่ายเอกซเรย์ทางทันตกรรมในเด็กมีความปลอดภัยสูง เนื่องจากใช้ปริมาณรังสีต่ำมาก และอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยตามมาตรฐานสากล
ทันตแพทย์จะพิจารณาเอกซเรย์เฉพาะเมื่อจำเป็น เช่น การตรวจหาฟันผุระหว่างซี่ฟัน หรือเพื่อติดตามพัฒนาการของฟันที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก
เพื่อเพิ่มความปลอดภัย เด็กจะสวมเสื้อกันรังสี (lead apron) หรือปลอกคอกันรังสี (thyroid collar) ทุกครั้งที่ทำการเอกซเรย์
-
ลองทำให้การแปรงฟันเป็นเรื่องสนุก เช่น เปิดเพลงระหว่างแปรง แปรงฟันไปพร้อมกัน หรือเลือกแปรงสีสันสดใสที่ลูกชอบ
หากยังยากอยู่ แนะนำให้ปรึกษาทันตแพทย์เด็ก เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมที่เหมาะกับพฤติกรรมของลูกค่ะ
-
หากสังเกตเห็นรอยผุ ควรรีบพาไปพบทันตแพทย์ เพื่อให้การรักษาง่าย ไม่ซับซ้อน
ถ้าปล่อยไว้ อาจทำให้เจ็บ เป็นหนอง และส่งผลเสียต่อฟันแท้ได้
หากฟันยังไม่ใกล้จะหลุด ควรอุดฟันเพื่อเก็บฟันน้ำนมไว้ให้นานที่สุด เพราะฟันน้ำนมมีหน้าที่สำคัญในการนำทางให้ฟันแท้ขึ้นในตำแหน่งที่ถูกต้องค่ะ
-
ฟันน้ำนมมีหน้าที่สำคัญ เช่น ช่วยให้เด็กบดเคี้ยวอาหารได้ดี พูดชัด และเป็นแนวทางให้ฟันแท้ขึ้นตรงตำแหน่ง
หากฟันน้ำนมผุลึกจนถึงโพรงประสาท แต่ยังสามารถรักษาได้ ทันตแพทย์จะแนะนำให้รักษารากฟัน เพื่อเก็บฟันไว้จนถึงช่วงเวลาที่ฟันแท้พร้อมขึ้น
ถ้าถอนฟันน้ำนมออกก่อนเวลา โดยไม่มีการใส่เครื่องมือกันฟันล้ม อาจทำให้ฟันแท้ขึ้นผิดตำแหน่ง หรือทำให้เกิดปัญหาการสบฟันในอนาคตได้ค่ะ
-
ใช่ค่ะ หากถอนฟันน้ำนมก่อนกำหนดโดยไม่ได้ใส่เครื่องมือกันฟันล้ม ฟันข้างเคียงอาจเคลื่อนเข้ามา ทำให้ฟันแท้ไม่มีที่ขึ้น และเสี่ยงต่อการขึ้นผิดตำแหน่งในอนาคต
-
การตรวจฟันทุก 3–6 เดือน ช่วยให้ทันตแพทย์ติดตามพัฒนาการของฟันและขากรรไกร ตรวจหาฟันผุหรือปัญหาในช่องปากได้ตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งจะช่วยให้การรักษาง่ายและไม่ซับซ้อน
นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับการพบทันตแพทย์ ลดความกลัว และปลูกฝังพฤติกรรมการดูแลช่องปากที่ดีตั้งแต่วัยเด็ก
-
ฟันที่รักษารากมักสูญเสียเนื้อฟันไปมาก การทำครอบฟันช่วยเสริมความแข็งแรง ป้องกันการแตกหัก และลดโอกาสติดเชื้อซ้ำ
หากไม่ครอบฟัน ฟันมีโอกาสอาจแตกหักจนต้องถอน ทำให้การรักษาซับซ้อนขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์ เพื่อให้ผลการรักษาเป็นไปตามแผนที่วางไว้ และดูแลสุขภาพฟันของลูกน้อยได้ดีที่สุดค่ะ













ทันตกรรมสำหรับเด็ก ดูแลด้วยความใส่ใจโดยทีมทันตแพทย์เฉพาะทาง
สุขภาพช่องปากของเด็กต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ คลินิกของเรามุ่งเน้นการรักษาที่ปลอดภัยสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีทันสมัยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล พร้อมทีมทันตแพทย์ที่มีประสบการณ์และความชำนาญด้านทันตกรรมเด็กโดยตรง
เรายินดีให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง เพื่อช่วยวางแผนการดูแลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกน้อยของคุณ มั่นใจได้ว่าทุกขั้นตอนจะได้รับการดูแลอย่างใส่ใจ อบอุ่น และเป็นกันเอง
ทำนัดวันนี้ เพื่อให้ลูกของคุณได้พบกับทีมทันตแพทย์ที่พร้อมดูแลด้วยความรักและความเข้าใจ