Orthognathic surgery
จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร
ในผู้ป่วยบางราย การจัดฟันเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขความผิดปกติได้ทั้งหมด การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพื่อแก้ไขปัญหาตำแหน่งหรือขนาดของขากรรไกรบนและล่างไม่สัมพันธ์กัน ทำให้เกิดปัญหาการบดเคี้ยว การออกเสียง และในบางรายยังส่งผลต่อรูปหน้าอีกด้วย
ทำไมต้องจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร
แก้ปัญหาที่ต้นเหตุของการสบฟันผิดปกติ
การจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ช่วยปรับตำแหน่งขากรรไกรที่ยื่นหรือสั้นเกินไป ให้ฟันเรียงตัวและสบกันได้อย่างถูกต้อง
ผลลัพธ์สวยทั้งฟันและใบหน้า
ช่วยปรับสมดุลใบหน้า พร้อมปรับการสบฟันให้ดีขึ้น ส่งผลให้การบดเคี้ยวและบุคลิกภาพดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
เคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น
ลดปัญหาการเคี้ยวยาก เคี้ยวไม่ละเอียด
เพิ่มความมั่นใจให้รอยยิ้ม
ใบหน้าดีขึ้น รอยยิ้มสวยมั่นใจ ส่งเสริมบุคลิกภาพและคุณภาพชีวิตในระยะยาว
แก้ปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea)
ในผู้ที่มีขากรรไกรล่างสั้นร่วมกับทางเดินหายใจแคบ การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรไปด้านหน้าจะช่วยเปิดทางเดินหายใจ ลดการนอนกรน และหยุดหายใจระหว่างหลับ ช่วยให้นอนหลับได้ลึกขึ้น และลดความเสี่ยงต่อโรคร้าย เช่น ความดันสูง หรือโรคหัวใจในอนาคต
ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของความผิดปกติ ว่าเกิดจาก ขากรรไกรบน ขากรรไกรล่าง หรือทั้งสองขากรรไกร
การวางแผนการรักษาจะครอบคลุมทั้ง การประเมินทางคลินิก และ การวิเคราะห์จากภาพถ่ายและเอกซเรย์ ดังนี้
ผ่าตัดขากรรไกร ต้องผ่าทั้งขากรรไกรบนและล่าง หรือผ่าแค่ขากรรไกรเดียวก็พอ
ซักถามประวัติและปัญหาที่คนไข้กังวล – วิเคราะห์ว่าเกิดจากฟัน ขากรรไกร หรือทั้งสองร่วมกัน
ตรวจใบหน้าและการสบฟันทางคลินิก – ประเมินความสมมาตรของใบหน้าและลักษณะการสบฟัน
ภาพถ่ายใบหน้าและฟัน – ใช้ประกอบการวางแผนร่วมกับข้อมูลอื่น
ภาพเอกซเรย์ OPG, Ceph, PA Ceph – ตรวจความสัมพันธ์ของขากรรไกรกับฟัน และโครงสร้างกระดูก
CBCT (3D Scan) – ในเคสที่ซับซ้อน ใช้เพื่อดูตำแหน่งกระดูกและทางเดินหายใจอย่างละเอียด
การวางแผนทั้งหมดจะทำร่วมกันระหว่างทันตแพทย์จัดฟันและทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลก่อนเริ่มจัดฟัน
หลายคนอาจรู้สึกกังวลเมื่อได้ยินคำว่า “ผ่าตัดขากรรไกร” แต่ความจริงแล้ว การผ่าตัดขากรรไกรเป็นหัตถการที่มีความปลอดภัยสูง หากอยู่ภายใต้การดูแลของทีมทันตแพทย์ศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ร่วมกับทันตแพทย์จัดฟันที่มีประสบการณ์
ที่ Bigmouthten เราให้ความสำคัญกับการวางแผนล่วงหน้าอย่างละเอียด โดยใช้ภาพเอกซเรย์ 3 มิติ (CBCT) ร่วมกับการจำลองการผ่าตัดด้วยโปรแกรม Dolphin Imaging เพื่อให้การรักษาแม่นยำและปลอดภัยที่สุด
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบ เช่น อาการบวม ชา หรือเจ็บ มักเป็นเพียงชั่วคราวและสามารถฟื้นตัวได้ตามปกติ หากมีการวางแผนอย่างเหมาะสมและเลือกสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน การผ่าตัดขากรรไกรไม่ใช่เรื่องน่ากลัว และสามารถเปลี่ยนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้
ผ่าตัดขากรรไกรอันตรายไหม
REVIEW CASES
ก่อนและหลังจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร
ที่บิ๊กเม้าท์เท็น







เริ่มต้นจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร ต้องทำอะไรบ้าง
การเตรียมตัวในช่วงแรกมีความสำคัญมาก โดยมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
ค้นหาทีมทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ในการรักษาร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร
ควรเลือกคลินิกหรือโรงพยาบาลที่มีทั้งทันตแพทย์จัดฟัน และทันตแพทย์สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ทำงานร่วมกันอย่างเป็นทีม และมีประสบการณ์ในการดูแลเคสผ่าตัดขากรรไกรจำนวนมาก เพื่อความมั่นใจและปลอดภัยสูงสุด
เข้ารับการตรวจประเมินเบื้องต้น
ทันตแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจใบหน้า และประเมินการสบฟัน เพื่อวิเคราะห์ว่าโครงสร้างขากรรไกรมีความผิดปกติหรือไม่
ถ่ายภาพและเอกซเรย์ประกอบการวางแผน
ได้แก่ ภาพถ่ายใบหน้าและฟัน ภาพเอกซเรย์ OPG, Ceph และ PA Ceph เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างฟันกับกระดูกขากรรไกร
สแกนฟันด้วยเครื่องสแกนในช่องปาก (Intraoral Scanner)
เพื่อบันทึกรายละเอียดตำแหน่งฟันและการสบฟันแบบสามมิติ ช่วยให้การวางแผนการรักษาแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ในบางกรณีอาจต้องถ่าย CBCT (3D Scan)
ใช้ในกรณีที่มีความซับซ้อน หรือสงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อน เช่น ทางเดินหายใจแคบ หรือข้อต่อขากรรไกรมีลักษณะผิดปกติ
วางแผนร่วมกันระหว่างทีมทันตแพทย์
ทันตแพทย์จัดฟันจะร่วมวางแผนกับทันตแพทย์สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล เพื่อกำหนดแนวทางการรักษาที่เหมาะสมและแม่นยำที่สุดสำหรับแต่ละบุคคล
การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร มีกี่แบบ
-
เป็นแนวทางมาตรฐานที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
เริ่มจากการจัดฟันเพื่อปรับตำแหน่งฟันให้อยู่ในแนวที่เหมาะสมกับแนวขากรรไกร
จากนั้นจึงเข้าสู่การผ่าตัดขากรรไกร และจัดฟันต่ออีกระยะหนึ่งหลังผ่าตัด
ข้อดี:
วางแผนได้แม่นยำ
แก้ไขการสบฟันหลังผ่าตัดได้ไว เนื่องจากฟันได้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้ว
ข้อจำกัด
ต้องใช้ระยะเวลารักษานานกว่าจะเห็นผลเรื่องรูปหน้า
ความผิดปกติของขากรรไกรอาจเห็นชัดเจนขึ้นในระหว่างจัดฟันก่อนผ่าตัด
-
แนวทางนี้จะเริ่มต้นจากการผ่าตัดขากรรไกรก่อน แล้วจึงจัดฟันทีหลัง
เหมาะกับเคสที่ฟันไม่ซ้อนเกมาก ขากรรไกรผิดปกติไม่รุนแรง และแนวฟันเอียงไม่มาก
เห็นการเปลี่ยนแปลงของรูปหน้าเร็วตั้งแต่หลังผ่าตัด
ข้อดี
รูปหน้าเปลี่ยนทันที คนไข้เห็นผลลัพธ์เร็ว มีแรงจูงใจในการรักษาต่อเนื่อง
ข้อจำกัด:
วางแผนซับซ้อน ต้องใช้ทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง
ไม่เหมาะกับทุกกรณี
-
เป็นทางเลือกกึ่งกลางระหว่างสองแนวทางข้างต้น
เริ่มจัดฟันล่วงหน้าระยะสั้น (ประมาณ 6–9 เดือน) เพื่อเรียงฟันให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถผ่าตัดได้
จากนั้นจึงทำการผ่าตัด และจัดฟันต่อจนจบการรักษา
ข้อดี:
ไม่ต้องรอจัดฟันนานก่อนผ่าตัด
เห็นผลเร็วกว่าแบบจัดฟันก่อนผ่าตัด
ข้อจำกัด:
ต้องมีการประเมินอย่างละเอียดทั้งโครงสร้างฟันและขากรรไกรก่อนตัดสินใจ
FAQs
คำถามที่พบบ่อย
-
โดยทั่วไป การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรควรทำเมื่อร่างกาย หยุดการเจริญเติบโตแล้ว เพื่อให้ผลการรักษาคงที่ในระยะยาว ช่วงอายุที่เหมาะสมมักเริ่มตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป หรือพิจารณาจากประวัติว่า ส่วนสูงไม่เพิ่มขึ้นในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
หากไม่แน่ใจ ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ถ่าย ฟิล์ม hand-wrist เพื่อดูว่าการเจริญเติบโตหยุดลงหรือยัง หากยังไม่หยุด ควรเลื่อนการผ่าตัดออกไป เพราะขากรรไกรอาจเปลี่ยนตำแหน่งอีกหลังผ่าตัด
-
ขากรรไกรยื่น ขากรรไกรเบี้ยว หรือรูปหน้าผิดรูป เกิดจากอะไรได้บ้าง?
ความผิดปกติของขากรรไกร เช่น ขากรรไกรยื่น ขากรรไกรเบี้ยว หรือโครงหน้าผิดสมดุล อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่:
• กรรมพันธุ์ (Genetic factors): เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด หากคนในครอบครัวมีโครงสร้างขากรรไกรผิดปกติ ลูกหลานก็อาจได้รับถ่ายทอดลักษณะนี้
• การเจริญเติบโตที่ไม่สมดุล: ขากรรไกรบนและล่างเติบโตไม่เท่ากัน ทำให้เกิดการสบฟันผิดปกติหรือใบหน้าเบี้ยว
• พฤติกรรมในวัยเด็ก: เช่น การดูดนิ้ว ใช้ขวดนมเป็นเวลานาน หรือหายใจทางปาก ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของขากรรไกร
• อุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บ: ทำให้กระดูกขากรรไกรหยุดเจริญหรือเบี้ยวไปจากแนวปกติ
• โรคหรือความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (TMJ): ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและตำแหน่งของขากรรไกร
• เนื้องอกหรือความผิดปกติทางพัฒนาการ: แม้พบได้น้อย แต่ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ขากรรไกรผิดรูปได้
-
โดยทั่วไป การผ่าตัดขากรรไกร (Jaw Surgery) มักต้องทำร่วมกับการจัดฟัน ทั้งก่อนและหลังผ่าตัด เพื่อให้ฟันสบกันได้พอดี และโครงขากรรไกรทำงานได้สมดุลหลังจากการปรับตำแหน่งกระดูก
อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีที่คนไข้มีการเรียงฟันค่อนข้างดีอยู่แล้ว หรือมีข้อจำกัดบางอย่าง อาจสามารถใช้วิธี Surgery First หรือ Surgery Only ได้ แต่จะต้องผ่านการประเมินอย่างละเอียดโดยทีมทันตแพทย์จัดฟันและทันตแพทย์สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลก่อนเสมอ
Our experienced team of orthodontists and oral surgeons offer personalized treatment plans.
Our experienced team of orthodontists and oral surgeons offer personalized treatment plans.
ที่ Bigmouthten เรามีทีมทันตแพทย์เฉพาะทางด้านจัดฟัน และทันตแพทย์สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ทำงานร่วมกันในการวางแผนรักษา พร้อมเคสรีวิวจริงให้คุณมั่นใจในทุกขั้นตอน เราใช้ Dolphin Imaging Software จำลองการผ่าตัดขากรรไกรแบบสามมิติ (Jaw Surgery Simulation) เพื่อวางแผนล่วงหน้าอย่างแม่นยำ