อุดฟัน
Composite Filling
การอุดฟันคืออะไร
การอุดฟันเป็นการรักษาฟันที่เสียหายจากการผุ สึก หรือบิ่น โดยการกรอเนื้อฟันที่เสียออก และเติมวัสดุอุด เพื่อคืนรูปร่างและประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด
ปัญหาใดบ้างที่ต้องแก้ไขด้วยการอุดฟัน
ฟันผุจากเแบคทีเรีย
ฟันแตกหรือบิ่นเล็กน้อยจากอุบัติเหตุ
ฟันสึกบริเวณคอฟัน ซึ่งมักเกิดจากการแปรงฟันแรงเกินไป
วัสดุอุดฟันเดิมเสื่อมสภาพหรือมีรอยรั่ว
ฟันสึกหรือแตกจากการบดเคี้ยวของแข็ง
• ฟื้นฟูรูปร่างและการใช้งานของฟันให้กลับมาใกล้ เคียง ปกติ
• ป้องกันการติดเชื้อที่อาจลุกลามไปยังโพรงประสาทฟัน
• ช่วยให้เคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น และลดภาระต่อฟันซี่อื่น
• เสริมความมั่นใจเมื่อต้องยิ้ม หรือพูดคุย
การอุดฟันตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยป้องกันปัญหาฟันลุกลาม ซึ่งอาจต้องรักษาด้วยวิธีที่ซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นในอนาคต
ประโยชน์ของการอุดฟันมีอะไรบ้าง
ระดับความรุนแรงของการเกิดฟันผุ
มีกี่ระดับ
-
1. ระยะเริ่มต้น
เกิดการสลายของแร่ธาตุในเคลือบฟัน อาจเห็นเป็นจุดขาวหรือจุดสีน้ำตาล ยังไม่มีโพรงฟัน อุดฟันอาจยังไม่จำเป็นหากดูแลทัน
-
2. ระยะปานกลาง
ฟันผุลุกลามลึกเข้าไปในชั้นเนื้อฟัน (dentin) มักมีอาการเสียวฟันเมื่อกินของร้อน เย็น หรือหวาน ควรได้รับการอุดฟันทันที
-
3. ระยะรุนแรง
ฟันผุถึงโพรงประสาท อาจมีอาการปวดมาก บวม หรือเป็นหนอง ต้องรักษารากฟันหรือถอนฟันในบางกรณี

ก่อนการอุดฟัน ทันตแพทย์จะทำการกรอเนื้อฟันที่มีปัญหาออกก่อน เช่น เนื้อฟันที่ผุหรือแตก เพื่อให้วัสดุอุดสามารถยึดติดกับฟันได้อย่างเหมาะสม
การอุดฟันแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีหลักตามกระบวนการรักษา:
1. อุดฟันแบบทำเสร็จในวันเดียว (Direct Filling)
ทันตแพทย์จะใส่วัสดุอุดลงในโพรงฟันโดยตรง เช่น
เรซินคอมโพสิต เป็นวัสดุสีเหมือนฟัน ได้รับความนิยมสูงเพราะดูเป็นธรรมชาติและยึดเกาะได้ดี
อมัลกัม เป็นวัสดุสีเงินที่เคยนิยมใช้กับฟันหลัง แต่ปัจจุบันแทบไม่มีการใช้งานแล้ว เนื่องจากข้อจำกัดด้านความสวยงามและความกังวลเกี่ยวกับส่วนผสมของปรอท
2. อุดฟันแบบทำชิ้นงานจากบริษัท (Indirect Filling)
ทันตแพทย์จะสแกนฟัน แล้วส่งข้อมูลไปผลิตชิ้นงาน เช่น อินเลย์ (inlay) หรือออนเลย์ (onlay) ซึ่งมีความแข็งแรงและความแม่นยำสูง วัสดุที่ใช้ ได้แก่ เซรามิก พอร์ซเลน เรซินคุณภาพสูง และทองคำในบางกรณี
ชนิดของวัสดุอุดฟันที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีกี่ประเภท แต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
ในอดีต วัสดุที่ใช้ในการอุดฟันหลังมักเป็น อมัลกัม (Amalgam) ซึ่งเป็นโลหะผสมที่มีความแข็งแรงและทนทาน เหมาะสำหรับรองรับแรงบดเคี้ยว อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันวัสดุอมัลกัมได้รับความนิยมลดลง เนื่องจากสีที่ไม่กลมกลืนกับฟันธรรมชาติ และมีข้อกังวลเกี่ยวกับส่วนผสมของปรอท รวมถึงแนวโน้มของผู้ป่วยที่ให้ความสำคัญกับความสวยงามมากยิ่งขึ้น
วัสดุอุดฟันที่นิยมใช้ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่
-
วัสดุสีเหมือนฟัน นิยมใช้ทั้งในฟันหน้าและฟันหลัง
ข้อดี: สวยงามเป็นธรรมชาติ ยึดเกาะกับเนื้อฟันได้ดี ไม่ต้องกรอฟันมาก
ข้อเสีย: อายุการใช้งานอาจสั้นกว่าวัสดุแบบหล่อ และอาจสึกหรือเปลี่ยนสีเมื่อใช้งานเป็นเวลานาน
-
วัสดุที่สามารถปล่อยฟลูออไรด์ ช่วยลดโอกาสฟันผุซ้ำ
ข้อดี: เหมาะสำหรับฟันน้ำนมหรือบริเวณที่ไม่ต้องรับแรงบดเคี้ยวมาก ยึดเกาะดีกับเนื้อฟัน
ข้อเสีย: ไม่ทนต่อแรงบดเคี้ยวเท่าคอมโพสิต และมีความสวยงามน้อยกว่า
-
ใช้ในกรณีที่ต้องการความแข็งแรงและความแม่นยำสูง เช่น อินเลย์หรือออนเลย์ โดยวัสดุที่ใช้ได้แก่ เซรามิก พอร์ซเลน หรือเรซินคุณภาพสูง
ข้อดี: แข็งแรง ทนทาน ให้ผลลัพธ์ด้านความสวยงามดีเยี่ยม และแม่นยำในการใช้งาน
ข้อเสีย: มีค่าใช้จ่ายสูง และต้องใช้เวลาผลิตจากห้องแลบหรือบริษัทเฉพาะทาง
การเลือกวัสดุอุดฟันที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของฟัน ขนาดของรอยผุ ความต้องการด้านความแข็งแรงและความสวยงาม รวมถึงงบประมาณของผู้ป่วย ซึ่งทันตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินและแนะนำทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละกรณี
คำแนะนำหลังอุดฟันด้วยเรซินคอมโพสิต (วัสดุอุดสีเหมือนฟัน)
สามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติหลังการรักษา
วัสดุเรซินคอมโพสิตจะแข็งตัวทันทีหลังอุด จึงไม่จำเป็นต้องรอเหมือนวัสดุบางประเภท
(ยกเว้นกรณีมีการฉีดยาชา อาจต้องรอให้ความรู้สึกกลับมาก่อนเพื่อป้องกันการกัดกระพุ้งแก้มหรือลิ้น)
อาการเสียวฟันหรือรู้สึกสูงเล็กน้อยหลังอุด อาจเกิดขึ้นได้
หากรู้สึกว่าสูงเกินไป เคี้ยวแล้วกระทบแรง ควรกลับมาพบทันตแพทย์เพื่อตกแต่งหรือปรับระดับวัสดุอุดเพิ่มเติม
อาการเสียวมักจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายในไม่กี่วัน
รักษาความสะอาดในช่องปากอย่างเคร่งครัด
แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันบริเวณซอกฟัน เพื่อป้องกันการผุซ้ำรอบวัสดุอุด
ตรวจสุขภาพช่องปากตามนัด
เพื่อให้แน่ใจว่าวัสดุอุดฟันยังอยู่ในสภาพดี
FAQs
คำถามที่พบบ่อย
-
ถ้าเป็นฟันผุระยะเริ่มแรก แทบไม่รู้สึกอะไรเลยค่ะ อาจมีเพียงความรู้สึกเสียวฟันเล็กน้อยขณะทำ
แต่หากรอยผุลึกมากขึ้น ทันตแพทย์จะฉีดยาชาเพื่อระงับความรู้สึกเจ็บระหว่างรักษา
หลังอุดอาจมีอาการเสียวฟันได้บ้าง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ และจะค่อย ๆ ทุเลาลงเองในไม่กี่วัน
-
โดยทั่วไปการอุดฟันใช้เวลาประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของรอยผุและความซับซ้อนของการรักษา หากเป็นฟันผุเล็ก สามารถอุดเสร็จได้เร็ว แต่ถ้ารอยผุใหญ่หรืออยู่ในตำแหน่งที่เข้าถึงยาก อาจใช้เวลานานขึ้นได้ค่ะ
-
การเลือกวัสดุอุดฟันที่ดีขึ้นอยู่กับตำแหน่งของฟัน ขนาดของรอยผุ และงบประมาณของแต่ละบุคคล
ทันตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินและแนะนำวัสดุที่เหมาะสมที่สุด เช่น
• เรซินคอมโพสิต: เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสวยงาม สีใกล้เคียงฟันธรรมชาติ
• อินเลย์ / ออนเลย์: เหมาะกับฟันที่เสียหายมาก ต้องการความแข็งแรงและทนทานเป็นพิเศษ
-
การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันหรือเรซินคอมโพสิต เป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยม เพราะให้ความสวยงาม กลมกลืนกับฟันธรรมชาติ ยึดเกาะกับฟันได้ดี และไม่จำเป็นต้องกรอฟันมาก
วัสดุชนิดนี้สามารถใช้อุดในฟันหลังได้ โดยเฉพาะในกรณีที่รอยผุมีขนาดไม่ใหญ่มาก
อย่างไรก็ตาม หากฟันสูญเสียเนื้อฟันมาก หรืออยู่ในตำแหน่งที่ต้องรับแรงบดเคี้ยวเป็นประจำ การบูรณะด้วยอินเลย์ (Inlay) หรือออนเลย์ (Onlay) อาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า เพราะให้ความแข็งแรงและทนทานในระยะยาว
-
หากวัสดุอุดฟันหลุด ควรรีบพบทันตแพทย์โดยเร็ว เพื่อทำการอุดฟันใหม่
การปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้ฟันผุลุกลามมากขึ้น เกิดอาการเสียวฟัน หรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อในโพรงประสาทฟันได้
-
โดยทั่วไปผู้ที่มีโรคประจำตัวสามารถอุดฟันได้ แต่ควรแจ้งข้อมูลสุขภาพทั้งหมดให้ทันตแพทย์ทราบก่อนการรักษา เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือการใช้ยาบางชนิด (เช่น ยาละลายลิ่มเลือด)
ทันตแพทย์จะนำข้อมูลเหล่านี้มาประเมินและปรับแผนการรักษาให้เหมาะสมและปลอดภัยมากที่สุด เช่น การเลือกใช้ยาชา การให้ยาปฏิชีวนะ หรือการปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ร่วมด้วยในบางกรณี
Confident smiles for everyone
Confident smiles for everyone
ฟันผุเล็กน้อย อย่าปล่อยให้ลุกลามค่ะ
อุดฟันที่ Bigmouthten ด้วยวัสดุคุณภาพสูง พร้อมทีมทันตแพทย์ที่ใส่ใจในทุกรายละเอียด
ไม่ว่าจะเป็นฟันหน้าเพื่อความสวยงาม หรือฟันหลังที่ต้องรองรับแรงบดเคี้ยว เราพร้อมออกแบบการรักษาให้เหมาะกับคุณที่สุด
แถมใช้สิทธิประกันสังคมได้ ไม่ต้องสำรองจ่าย
ตรวจเร็ว รักษาเร็ว เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว
นัดหมายหรือสอบถามเพิ่มเติมกับทีมงาน bigmouthten ได้เลยนะคะ