ครอบฟัน

Dental Crown

Smiling woman with shoulder-length brown hair, colorful nails, and wearing a white shirt against a blue background.

ครอบฟัน คืออะไร

ครอบฟัน คือ การบูรณะฟันด้วยวัสดุครอบคลุมตัวฟันทั้งซี่ เพื่อให้ฟันกลับมาใช้งานได้ดี และมีรูปร่างสวยงามเหมือนเดิม
เหมาะสำหรับฟันที่สูญเสียเนื้อฟันไปมาก เช่น ฟันผุขนาดใหญ่ ฟันแตก หรือฟันที่ผ่านการรักษารากฟันมาก่อน

  • ฟันแตก หรือบิ่นมากจนไม่สามารถอุดได้

  • ฟันที่เคยอุดใหญ่ เสี่ยงแตกในอนาคต

  • ฟันที่ผ่านการรักษารากแล้ว ต้องการเสริมความแข็งแรง

  • ฟันที่มีรูปร่างหรือสีผิดปกติ อยากปรับให้ดูดีขึ้น

  • ฟันที่สึกจากการใช้งานจนสูญเสีย “มิติแนวดิ่ง” ของการสบฟัน

ฟันแบบไหนที่ควร “ครอบฟัน”

ครอบฟันมีกี่แบบ
แล้วแบบไหนที่เหมาะกับคุณ

  • เป็นชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน

    • สีใกล้เคียงฟันธรรมชาติ เหมาะกับทั้งฟันหน้าและฟันหลัง

    • Zirconia แข็งแรง ทนทาน ใช้งานได้นาน และไม่ทำให้เหงือกคล้ำ

    • เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสวยงาม หรือมีประวัติแพ้โลหะ

  • • แข็งแรง ทนทานสูง เหมาะสำหรับฟันกรามหลังที่รับแรงบดเคี้ยวมาก

    • ไม่สึกง่าย อายุการใช้งานยาวนาน

    • สีโลหะเด่นชัด จึงไม่เหมาะสำหรับบริเวณที่มองเห็นเวลายิ้ม

  • • โครงสร้างภายในเป็นโลหะ เคลือบด้วยเซรามิกด้านนอก

    • ให้ความแข็งแรงและความสวยงามในระดับหนึ่ง

    • ปัจจุบันนิยมลดลง เนื่องจากอาจเห็นขอบโลหะเมื่อเวลาผ่านไป และเสี่ยงต่อการทำให้ขอบเหงือกคล้ำหรือติดสีจากโลหะ

ขั้นตอนการทำครอบฟัน

  • 1. ตรวจเช็คและเตรียมฟัน

    – ตรวจประเมินสภาพฟันทางคลินิกร่วมกับภาพถ่ายเอกซเรย์
    – หากพบว่าฟันผุหรือแตกถึงโพรงประสาท จะต้องรักษารากฟันก่อน

  • 2. กรอแต่งฟันและใส่ครอบฟันชั่วคราว

    – กรอเนื้อฟันธรรมชาติเพื่อลดขนาดและปรับรูปร่างให้เหมาะสมกับการใส่ครอบ

    – หากเนื้อฟันเดิมเหลือน้อย อาจต้องทำเดือยฟัน (post & core) เพื่อเสริมแกนฟันให้แข็งแรงพอสำหรับการยึดครอบ

    – สแกนฟันในช่องปากด้วยระบบดิจิทัล เพื่อส่งข้อมูลไปผลิตครอบฟันถาวร

    – ใส่ครอบฟันชั่วคราวระหว่างรอ เพื่อป้องกันฟันจากแรงเคี้ยวและลดอาการเสียวฟัน

  • 3. ใส่ครอบฟันถาวร

    – เมื่อครอบฟันถาวรผลิตเสร็จ (โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 5–7 วัน หากต้องการเร่งด่วนสามารถแจ้งล่วงหน้าได้)

    – ทันตแพทย์จะทดลองใส่ ตรวจสอบการสบฟัน ความพอดี และเฉดสี

    – หากทุกอย่างเหมาะสม จะยึดติดครอบฟันด้วยซีเมนต์ทางทันตกรรม และขัดแต่งผิวครอบให้เรียบเนียน

REVIEW CASES

ก่อนและหลังทำ ครอบฟัน ที่บิ๊กเม้าท์เท็น

ใส่ครอบฟันแล้ว
ดูแลยังไงให้ใช้งานได้นาน

การดูแลครอบฟันไม่ต่างจากการดูแลฟันธรรมชาติเท่าไรนัก แต่ต้องใส่ใจเรื่องความสะอาดมากเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันฟันผุใต้ครอบและปัญหาเหงือกตามมา

ข้อแนะนำในการดูแลครอบฟัน:

• แปรงฟันให้สะอาดวันละ 2 ครั้ง ด้วยแปรงขนนุ่ม

• ใช้ไหมขัดฟันหรือแปรงซอกฟันทำความสะอาดรอบ ๆ ครอบฟัน

• หลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็ง เช่น น้ำแข็ง กระดูก หรือเมล็ดถั่วแข็ง ๆ

• พบทันตแพทย์ตรวจเช็กครอบฟันตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

• หากมีอาการเสียวฟันหรือเคี้ยวแล้วรู้สึกไม่พอดี ควรรีบกลับไปให้ทันตแพทย์ตรวจเช็ก

การดูแลที่ดีจะช่วยยืดอายุการใช้งานครอบฟันได้นานหลายปี และป้องกันปัญหาที่อาจตามมาในอนาคตคได้

FAQs
คำถามที่พบบ่อย

  • วัสดุที่ใช้ทำครอบฟันมีหลายชนิด การเลือกขึ้นอยู่กับตำแหน่งของฟัน ความแข็งแรง และความสวยงามที่ต้องการ

    ปัจจุบัน “ครอบฟันเซรามิกชนิด Zirconia” เป็นตัวเลือกยอดนิยม เพราะให้ทั้งความแข็งแรง และความสวยงามใกล้เคียงฟันธรรมชาติ

    แนะนำทำนัดปรึกษาทันตแพทย์เพื่อเลือกวัสดุที่เหมาะกับสภาพฟันของคุณที่สุดค่ะ

  • โดยทั่วไปการทำครอบฟันมีความปลอดภัยสูง แต่ในบางกรณีอาจมีผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อน เช่น:

    • เสียวฟัน – อาจเกิดขึ้นชั่วคราวหลังการกรอฟันหรือใส่ครอบใหม่

    • การสบฟันไม่พอดี – อาจรู้สึกเคี้ยวแล้วสะดุด หรือมีอาการปวดกราม หากเป็นเช่นนี้ควรกลับไปให้ทันตแพทย์ปรับแต่ง

    • ครอบฟันหลุดหรือแตก – อาจเกิดได้จากการเคี้ยวของแข็งหรือใช้งานนานหลายปี

    • เหงือกร่นหรืออักเสบ – หากดูแลความสะอาดไม่ดีพอ

    คำแนะนำ: หมั่นดูแลความสะอาดรอบ ๆ ครอบฟันให้ดี และตรวจฟันตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันปัญหาและยืดอายุการใช้งานครอบฟันให้ได้นานที่สุดค่ะ

  • หากรู้สึกปวดบริเวณฟันที่ครอบอยู่ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

    • ครอบฟันสบกับฟันคู่สบไม่พอดี ทำให้มีแรงกัดหรือแรงกระแทกในบางตำแหน่งมากเกินไป

    • ฟันใต้ครอบมีฟันผุ บางกรณีอาจลุกลามจนถึงโพรงประสาทฟัน และอาจมีรอยโรคที่ปลายราก

    • เหงือกรอบ ๆ ครอบฟันอักเสบ จากการสะสมของคราบจุลินทรีย์หรือการทำความสะอาดไม่ทั่วถึง

    • ครอบฟันหลวมขณะใช้งาน อาจเกิดจากการผุใต้ครอบฟัน

    คำแนะนำ:

    ไม่ควรปล่อยไว้หรือพยายามแก้ไขด้วยตนเอง ควรรีบพบทันตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

    หากพบสาเหตุได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ การรักษาจะง่ายและป้องกันไม่ให้ปัญหาลุกลามถึงรากฟันหรือเนื้อเยื่อรอบ ๆ ได้ค่ะ

  • ไม่จำเป็นต้องรักษารากฟันทุกรายค่ะ หากฟันผุยังไม่ลึกถึงโพรงประสาท และไม่มีอาการปวด ทันตแพทย์อาจสามารถกรอฟันและทำครอบฟันได้เลย หรือหากรอยผุยังไม่ลึกมาก อาจสามารถทำการอุดฟันได้เช่นกัน

    แต่หากพบว่าโพรงประสาทเริ่มอักเสบ หรือมีโอกาสลุกลาม ทันตแพทย์อาจแนะนำให้รักษารากฟันก่อน เพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต

    ดังนั้น หากตรวจพบฟันผุ แนะนำให้พบทันตแพทย์โดยเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันผุลุกลามถึงโพรงประสาท และลดความเสี่ยงที่จะต้องรักษารากฟันในอนาคตค่ะ

  • ราคาครอบฟันไม่ได้เท่ากันทุกกรณี เพราะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น:

    • ชนิดของวัสดุที่ใช้

    เช่น เซรามิกล้วน (All ceramic), เซรามิกผสมโลหะ (PFM), หรือโลหะล้วน

    วัสดุที่ให้ความสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติมักมีราคาสูงกว่า

    • ตำแหน่งของฟันที่ทำการครอบ

    ฟันหน้าอาจต้องการความละเอียดเรื่องสีและความกลมกลืนมากกว่าฟันหลัง

    • สภาพของฟันเดิม

    หากฟันแตกมาก ฟันผุ หรือเคยรักษารากฟันมาแล้ว อาจต้องมีขั้นตอนเสริมแกนฟัน (post & core) เพิ่มเติม

    • หากเลือกครอบฟันแบบโลหะ

    ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามชนิดของโลหะที่เลือกใช้ เช่น โลหะธรรมดา โลหะผสม หรือโลหะมีค่าชนิดพิเศษ

    เนื่องจากสุขภาพช่องปากของแต่ละท่านแตกต่างกัน

    จึงควรเข้ารับการปรึกษาและตรวจในช่องปากกับทันตแพทย์ เพื่อประเมินแผนการรักษาที่เหมาะสม และทราบค่าใช้จ่ายที่แน่นอน

Confident smiles for everyone

Confident smiles for everyone

ที่ Bigmouthten เราให้บริการครอบฟันทุกประเภท ด้วยมาตรฐานการรักษาระดับสูง โดยทีมทันตแพทย์เฉพาะทาง พร้อมเทคโนโลยีการสแกนฟันในช่องปากเพื่อเพิ่มความแม่นยำ ในราคาที่คุณเข้าถึงได้

หากคุณกำลังวางแผนครอบฟัน และยังไม่แน่ใจว่าแบบไหนเหมาะกับคุณที่สุด สามารถเข้ามาปรึกษาทีมทันตแพทย์ที่ Bigmouthten ได้เลยค่ะ

เราพร้อมดูแลและออกแบบรอยยิ้มให้คุณอย่างมั่นใจและปลอดภัยในทุกขั้นตอน